สิวที่ไม่มีหัวเกิดจากการอุดตันของรูขุมขนด้วยไขมันและเซลล์ผิวหนังที่ตาย มีรอยแดงๆ เกิดจากผิวที่ได้รับการอักเสบจากการระคายเคือง สิวประเภทนี้ไม่มีหัวหรือนูนขึ้นมาบนผิวหนัง เห็นได้ชัดเจนที่หน้าผาก จมูก และคาง หากไม่มีการติดเชื้อไขมันและเซลล์ผิวหนังที่อุดตัน สิวอาจกลายเป็นสิวหัวดำ (blackhead) แต่ถ้ามีการติดเชื้อก็จะกลายเป็นสิวที่มีหัวขาวๆ ได้ วันนี้หมอหนึ่งจะพาไปทำความรู้จักสิวชนิดนี้ให้ดียิ่งขึ้น
สาเหตุของสิวไม่มีหัว เกิดจากอะไรได้บ้าง?
ก่อนจะไปดูวิธีการรักษาหรือป้องกัน เราควรรู้จักสาเหตุของสิวไม่มีหัว นูน แดง กันก่อน จะได้รู้ว่าต้องเลือกการรักษาอย่างไร และควรหลีกเลี่ยงปัจจัยไหนเพื่อไม่ให้เกิดสิวตามผิวหนัง
- การผลิตน้ำมันมากเกินไป: ต่อมไขมันใต้ผิวหนังผลิตน้ำมันมากเกินไป ส่งผลให้อุดตันรูขุมขน
- เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว: เซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วสะสมในรูขุมขน ทำให้เกิดการอุดตันที่รูขุมขน
- แบคทีเรีย: แบคทีเรีย Propionibacterium acnes (P.acnes) เจริญเติบโตในรูขุมขนที่อุดตัน จึงไปกระตุ้นการอักเสบและเกิดสิว
- ฮอร์โมน: การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนเพศชาย (androgens) กระตุ้นต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมันมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดสิว
- ยาบางชนิด: เช่น ยาสเตียรอยด์ ยาลิเทียม ยาต้านชัก อาจทำให้เกิดสิวได้
- ความเครียด: ความเครียดส่งผลต่อฮอร์โมน กระตุ้นต่อมไขมันให้ผลิตน้ำมันมากขึ้น จนเกิดการอุดตันและเป็นสิวได้ง่าย
ในหลายๆ กรณี อาการผื่นแพ้บางชนิด อาจจะดูเหมือนสิวไม่มีหัว หรือ การติดเชื้อยีสต์ ก็ทำให้เกิดสิวผดได้ ดังนั้นถ้ามีอาการสิวไม่มีหัวเรื้อรังนานเกิน 3-4 สัปดาห์ หมอหนึ่งแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุของอาการสิวไม่มีหัวและออกแบบการรักษาที่เหมาะสมต่อไป เพื่อจบปัญหาที่ต้นตอและลดการเกิดสิวซ้ำๆ ที่เดิม (ref: https://www.theoneclinicofficial.com/acne-aestivalis/)
เจาะลึก! ลักษณะอาการของสิวไม่มีหัว
หลายคนอาจจะสงสัยว่าจะสิวไม่มีหัวนั้นมีลักษณะอย่างไร สังเกตยังไง จะได้รักษาอย่างถูกวิธี The One Clinic ก็ลิสต์มาเป็นข้อๆ ให้คุณได้ลองสังเกตปัญหาสิวของตัวเอง ดังนี้
- จุดแดง: สิวอาจปรากฏเป็นจุดแดงบนผิวหนังโดยไม่มีหัวหรือนูนขึ้นมาบนผิว
- อักเสบ: สิวอาจมีการอักเสบทำให้เกิดรอยแดงโดยรอบ บางครั้งอาจความรู้สึกเจ็บปวดหรือระคายเคืองที่บริเวณนั้นๆ
- ไม่มีหัวหรือนูน: สิวไม่มีการเปิดหรือเกิดนูนขึ้นมาบนผิว ไม่มีขอบเขตชัดเจนระหว่างผิวปกติกับสิว
- สิวที่ไม่มีหัวมักพบได้บริเวณหน้าผาก จมูก และคาง โดยเฉพาะในบุคคลที่มีระบบน้ำมันผิวหนังที่มาก
สำหรับสิวที่ไม่มีหัวและมีลักษณะเป็นไตหรือสิวหัวช้าง (cystic acne) เป็นรูปแบบของสิวที่รุนแรงมาก มักเกิดจากกาอุดตันของรูขุมขนด้วยไขมันและเซลล์ผิวหนังที่ตาย ทำให้เกิดการอักเสบที่ลึกลงไปในผิวหนัง โดยมักมีขนาดใหญ่กว่าสิวทั่วไป หากพบสิวประเภทนี้ ควรพบแพทย์โดยเร็วเพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมและตรงจุด เนื่องจากสิวประเภทนี้ไม่สามารถหายเองได้ ห้ามกดหรือบีบสิวโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้เกิดการติดเชื้อและทำให้สิวเป็นฝีได้
บริเวณที่มักเกิดสิวไม่มีหัวขึ้นซ้ำๆ จนกลายเป็นปัญหากวนใจ
สิวไม่มีหัวเกิดขึ้นได้หลายบริเวณตามร่างกาย โดยเฉพาะจุดที่มีการสะสมของน้ำมัน สิ่งสกปรก และเชื้อแบคทีเรีย จนทำให้ผิดอุดตันและเกิดการอักเสบ โดยบริเวณที่มักเกิดสิวไม่มีหัวขึ้นซ้ำๆ มีดังนี้
1. บริเวณ T-Zone
- หน้าผาก: เป็นบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก มักเกิดสิวอุดตัน สิวไม่มีหัว และสิวอักเสบ
- จมูก: มีต่อมไขมันมาก รูขุมขนกว้าง มักเกิดสิวอุดตัน สิวไม่มีหัว และสิวหัวดำ
- คาง: ฮอร์โมนเพศชายกระตุ้นต่อมไขมัน มักเกิดสิวอักเสบ สิวไม่มีหัว และสิวซีสต์
2. แก้ม
- มักเกิดสิวอุดตัน สิวไม่มีหัว และสิวผด
- สาเหตุมาจากการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อุดตันรูขุมขน สิ่งสกปรกจากมือ หรือการสัมผัสใบหน้าบ่อยๆ
3. ลำคอ
- มักเกิดสิวอุดตัน สิวไม่มีหัว และสิวผด
- สาเหตุมาจากการเสียดสีจากเสื้อผ้า เครื่องประดับ การหมักหมมของคราบเหงื่อ และการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อุดตันรูขุมขน
4. แผ่นหลังและหน้าอก
- มักเกิดสิวอุดตัน สิวไม่มีหัว และสิวอักเสบ
- สาเหตุมาจากการเสียดสีจากเสื้อผ้า เหงื่อ หรือฮอร์โมน
หมอหนึ่งแชร์วิธีรักษาสิวไม่มีหัว
วิธีรักษาสิวไม่มีหัว นูน แดง มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสิว สภาพผิว และปัจจัยเฉพาะบุคคล ซึ่งหมอหนึ่งก็รวบรวมวิธีการรักษาสิวที่พบบ่อยและได้ผลลัพธ์ที่ดีมาฝากกัน ดังนี้
- ยาแต้มสิว: ยาแต้มสิวที่มีส่วนผสมของ Benzoyl peroxide ยาฆ่าเชื้อ หรือ Retinoids ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดการอักเสบ และลดการอุดตันของรูขุมขน
- ยารับประทาน: ยารับประทาน เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาฮอร์โมน และยา Isotretinoin ช่วยลดการอักเสบ ควบคุมการผลิตน้ำมัน และฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
- การรักษาด้วยแสง: การรักษาด้วยแสง เช่น Laser และ IPL ช่วยลดการอักเสบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และกระตุ้นการผลิตคอลลาเจน
- การฉีดสิว: แพทย์จะฉีดยา Corticosteroids เข้าที่สิวเพื่อลดการอักเสบ
การใช้คลื่นวิทยุเพื่อลดการทำงานของต่อมไขมันในชั้นผิว อย่าง Acgen ทำให้ลดโอกาสเกินการอุดตันซึ่งเป็นสาเหตุของสิว
วิธีการป้องกันสิวไม่มีหัว
สำหรับผู้ที่กังวลเรื่องสิวเห่อหรือปัญหาผิวหน้า หมอหนึ่งก็มีวิธีการป้องกันสิวไม่มีหัว นูน แดง ด้วยตัวเองง่ายๆ มาฝากกันค่ะ รับรองว่าช่วยป้องกันได้จริงและยังช่วยให้ผิวหน้าแข็งแรงขึ้นอีกด้วย
- ล้างหน้า: ล้างหน้าวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ด้วยสบู่อ่อนๆ ที่เหมาะกับสภาพผิว
- ทำความสะอาดผิว: ควรทำความสะอาดผิวหน้าหลังจากแต่งหน้า ออกกำลังกาย หรือมีเหงื่อออกมาก เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรคและน้ำมันส่วนเกิน
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า: ล้างมือก่อนสัมผัสใบหน้า หลีกเลี่ยงการแกะ เกา บีบสิว หรือเท้าคางบ่อยๆ
- ใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อให้เกิดสิว: เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า Non-Comedogenic และหลีกเลี่ยงการใช้ครีมกันแดดแบบกันน้ำโดยไม่จำเป็น เพราะมีโอกาสทิ้งสารอุดตันรูขุมขน
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่: ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาลสูง และอาหารจำนวกแปรรูป เพราะสามารถทำให้เกิดการอักเสบของผิวได้ง่าย
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ: นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อคืน
จัดการความเครียด: ความเครียดส่งผลให้มีการอักเสบของร่างกายง่ายขึ้น ซึ่งทำให้อาการสิวที่มีอยู่แล้วแย่ลงได้
จบปัญหา หน้าเป็นผื่นเม็ดเล็กๆ ต้องที่ The One Clinic
สิวแบบไหนก็จัดการได้ วางใจ หมอหนึ่ง ที่ The One Clinic แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง พร้อมประสบการณ์รักษาปัญหาผิวครบวงจร ทั้งสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ รอยแดง รอยดำ ติ่งเนื้อ และหัตถการที่น่าเชื่อถืออีกมากมาย มั่นใจในคุณภาพการรักษาและความปลอดภัยได้แน่นอนค่ะ
The One Clinic คลินิกย่านห้วยขวาง เดินทางง่าย ใกล้ MRT เปิดบริการทุกวัน หากคุณสนใจนัดหมาย หรือ สอบถามโปรโมชั่นพิเศษ โทร. 093-583-0921 หรือ แอดไลน์ @theoneclinic ได้เลยค่ะ
คำถามที่พบบ่อย
Q : สิวไม่มีหัวกดออกได้ไหม?
A : หากคุณเป็นสิวไม่มีหัว หมอหนึ่งไม่แนะนำให้กดออกเองนะคะ เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบ ทิ้งรอยแดง รอยดำ และแผลเป็นได้ ทางที่ดีคือรอให้สิวยุบหายเอง หรือถ้าไม่แน่ใจก็ควรไปพบแพทย์ผิวหนังเพื่อวินิจฉัยอาการ
Q : สิวหัวช้างไม่มีหัว ใช้เวลากี่วันถึงจะหาย?
A : สิวที่ไม่มีหัวและมีลักษณะเป็นไตหรือสิวหัวช้าง (Cystic Acne) เป็นรูปแบบของสิวที่รุนแรงมาก มีการอักเสบ มีอาการปวดระบม จึงควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสมโดยเร็ว เนื่องจากสิวประเภทนี้ไม่สามารถหายเองได้ และยังมีโอกาสอักเสบมากขึ้นหากคุณดูแลไม่ดี
Q : สิวไม่มีหัวควรรักษาด้วยตัวเองอย่างไร?
A : สำหรับผู้ที่เป็นสิวไม่มีหัวที่อาการไม่รุนแรงมาก หมอหนึ่งแนะนำให้ใช้ยาแต้มสิว ประเภท Benzoyl Peroxide ทาบริเวณสิวได้เลย แล้วลองสังเกตดูว่าสิวยุบลงหรือไม่