เช็กด่วน! สิวฮอร์โมนไม่หายสักที เกิดจากอะไร รักษาตรงจุดหายขาดได้

ไขข้อข้องใจ ‘สิวฮอร์โมน’ คืออะไร?

สิวฮอร์โมน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย ส่วนมากจะพบในวัยรุ่น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ (Androgen เช่น Testosterone, DHT, Oestrogen) ซึ่งฮอร์โมนนี้จะเป็นตัวกระตุ้นการผลิตน้ำมันในต่อมไขมันบริเวณผิวหนัง นำไปสู่ผิวมันและเกิดการอุดตัน 

จริงๆ แล้ว สิวฮอร์โมนไม่ได้จำกัดอยู่ในช่วงวัยรุ่นเท่านั้น มีโอกาสพบเจอได้ทุกวัย และมีความเกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนภายในร่างกาย เช่น ประจำเดือน (Menopause) ที่มาไม่ปกติ  ความเครียด รวมทั้งพฤติกรรมบางอย่างก็ส่งผลให้เกิดสิวฮอร์โมนได้

สิวฮอร์โมนมีลักษณะอย่างไร?

สิวฮอร์โมนมักพบในบริเวณที่มีต่อมหรือต่อมไขมันมาก เช่น ในบริเวณใกล้ปากหรือคาง การดูแลและควบคุมระดับฮอร์โมน รวมถึงการดูแลผิวหนังและลดปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด จะช่วยลดโอกาสในการเกิดสิวฮอร์โมนได้ ลักษณะของสิวฮอร์โมนจะอยู่กับความรุนแรงของสิว ซึ่งสามารถแบ่งเป็นสิวอุดตันและสิวอักเสบ

1. สิวอุดตัน (Comedones)

ประกอบไปด้วยสิวหัวดำ (Blackheads) และ สิวหัวขาว (Whiteheads) ที่เกิดจากการอุดตันของต่อมไขมันและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว โดยสิวหัวขาวจะต่างจากสิวหัวดำตรงที่สิวหัวดำมีการเกิดปฏิกิริยา Oxidise กับอากาศแล้วเปลี่ยนเป็นสีดำ การดูแลผิวหน้าด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมเป็นกรด Salicylic acid หรือ Acetic acid ช่วยลดสิวอุดตันได้

2. สิวอักเสบ (Inflammatory Acne)

เรียกว่าเป็นสิวที่มีการอักเสบของร่างกาย (Immune response) มีลักษณะเป็นสิวแดง และสิวที่มีน้ำหล่อเลี้ยงภายใน เช่น สิวหัวขาว (Pustules) สิวหัวดำ (Papules) และสิวหัวขาว (Nodules) โดยจะมีอาการบวม ปวด และร้อนๆ ที่รอยสิว การรักษาสิวอักเสบมักใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมต้านการอักเสบ และอาจจะต้องพบแพทย์เพื่อรักษาอาการอักเสบอย่างถูกวิธี

ฮอร์โมน กับ สิว มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร?

ฮอร์โมนเพศมีความเกี่ยวข้องกับสิวในช่วงรอบเดือน ทั้งก่อนหรือระหว่างรอบประจำเดือน ซึ่งระดับฮอร์โมนเพศหญิงเช่น Progesterone และ Oestrogen มีการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ

1. ฮอร์โมนเพศ

การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิงสามารถทำให้การผลิตน้ำมันในต่อมไขมันเกิดความเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวฮอร์โมน

  • โปรเจสเทอร์อน (Progesterone) ในช่วงก่อนรอบประจำเดือน โปรเจสเทอร์อนมีการเพิ่มขึ้น ทำให้ความหนาของน้ำมันในผิวหนังเพิ่มสูง และเพิ่มโอกาสในการเกิดสิว
  • เอสโตรเจน (Estrogen) ระดับอีสโตรเจนลดลงก่อนรอบเดือน ทำให้การผลิตน้ำมันในต่อมไขมันและเส้นผมมากขึ้น
  • เทสโทสเธอโรน (Testosterone) เป็นฮอร์โมนเพศชายที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิว โดยเทสโทสเธอโรน เป็นปัจจัยของการแปลงแปลงฮอร์โมนนี้เป็น DHT (Dihydrotestosterone) ทำให้เกิดสิวโดยเอนไซม์ 5-อัลฟา-เรดักตัส (5-alpha-reductase)  ซึ่ง DHT เป็นฮอร์โมนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเทสโทสเธอโรนในการกระตุ้นต่อมไขมันในผิวหนัง ซึ่งทำให้ผิวอุดตันได้ง่ายกว่า

2. น้ำมันที่เพิ่มขึ้นและเซลล์ผิวที่ตาย

ผิวบริเวณนั้นเกิดการอุดตันของฝุ่น แบคทีเรียที่ และสิ่งสกปรก ทำให้เกิดสิว โดยสิวฮอร์โมนมีโอกาสที่เกิดขึ้นซ้ำๆ ได้ในบริเวณเดิม นอกจากนี้ ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงทั่วไป ความเครียด และภาพรวมของสุขภาพก็มีผลต่อการเกิดสิวฮอร์โมนด้วย การดูแลผิวหน้าอย่างเหมาะสมและการรักษาสุขภาพทั่วไปสามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดสิวได้ 

ในกรณีของผู้หญิงอาจมีอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome or PCOS) ซึ่งกระตุ้นให้ร่างกายผลิตเทสโทสเธอโรนมากขึ้น ก่อให้เกิดการอุดตันในต่อมไขมันและทำให้มีอาการสิวเรื้อรังได้

ความแตกต่างของสิวทั่วไปกับสิวฮอร์โมน

สิวทั่วไป กับ สิวฮอร์โมนต่างกันอย่างไร

สิวฮอร์โมนมักพบในบริเวณที่มีต่อมหรือต่อมไขมันมาก เช่น ในบริเวณใกล้ปากหรือคาง การดูแลและควบคุมระดับฮอร์โมน รวมถึงการดูแลผิวหนังและลดปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียด จะช่วยลดโอกาสในการเกิดสิวฮอร์โมนได้ ลักษณะของสิวฮอร์โมนจะอยู่กับความรุนแรงของสิว ซึ่งสามารถแบ่งเป็นสิวอุดตันและสิวอักเสบ

ข้อสังเกต

สิวทั่วไป

สิวฮอร์โมน

สาเหตุหลัก

- มีน้ำมันบนหน้ามากเกินไป 

- แบคทีเรียชนิดไม่ดีสะสม

- เซลล์ผิวที่ตายแล้วผลัดออกไม่ทัน (Keratinized cells)

- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ เช่น Testosterone, Oestrogen, Progesterone หรือ Insulin รวมทั้งอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)

ช่วงอายุที่พบบ่อย

ส่วนมากพบในวัยรุ่น แต่สามารถพบได้ทุกช่วงวัย

วัยรุ่นช่วง Puberty และยังพบได้แม้เข้าสู่วัยผู้ใหญ่

บริเวณที่พบบ่อย

ใบหน้า ลำคอ หน้าอก หลัง ไหล่

หน้าช่วงคาง สันกราม ลำคอ หน้าอก หลัง

ชนิดของสิว

สิวหัวดำ สิวหัวขาว สิวตุ่มน้ำ สิวเนื้อ

สิวหนอง สิว Nodules สิวหัวดำ

วิธีการดูแลผิวพรรณ

- เปลี่ยนไลฟ์สไตล์ หมั่นทำความใบหน้าและร่างกายให้สะอาด โดยใช้เวชภัณฑ์แบบทา หรือ ใช้ Antibiotics 

- ทามอยเจอไรเซอร์เป็นประจำเพื่อรักษาความชุ่มชื้นและสร้างเกราะป้องกันให้ผิวแข็งแรง

- รักษาระดับฮอร์โมน ลดการทานอาหารรสจัด หวานหรือมัน 

- รักษาความชุ่มชื้นของผิวอยู่เสมอ

- ทานยาคุมฮอร์โมนภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

สิวฮอร์โมนรักษาอย่างไร?

การรักษาสิวฮอร์โมนมีหลายรูปแบบ ทั้งปัจจัยเรื่องเพศสภาพ ปริมาณฮอร์โมนในผู้ชายและผู้หญิงที่ต่างกัน ซึ่งปัจจุบันก็มีวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพหลายตัวเลือก

  1. การรักษาสำหรับผู้ชาย สามารถใช้ Antibiotics ชนิด Doxycycline หรือ Minocycline ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เพื่อลดการติดเชื้อ ในเคสที่อาการหนักก็จะเพิ่มการรักษาด้วย Isotretinoin ควบคู่กันไป
  2. การรักษาสำหรับผู้หญิง สามารถใช้ Anti-androgen เช่น Spironolactone ที่มีคุณสมบัติในการบล็อก Androgen และลดการเกิดไขมันอุดตันบนผิวหนัง นอกจากนี้ ยาคุมกำเนิดก็ได้รับความนิยมในการทานเพื่อรักษาสิวฮอร์โมนได้เช่นกัน
  3. การรักษาทั่วไป ที่ใช้ได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง คือ ยารักษาสิวเรตินอยด์แบบทา (Topical retinoid) และ เบนโซลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl peroxide) ส่วนในกรณีที่มีสิวเรื้อรัง หรือ มีความรุนแรงขนาดปานกลางขึ้นไปสามารถใช้ IPL (Acne Clear Laser) หรือ Monopolar RF ในการรักษาสิวฮอร์โมนได้

วิธีรักษาสิวฮอร์โมนด้วยตัวเอง

  1. การรักษาสิวฮอร์โมนมักจะเน้นการดูแลผิวหน้า ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิวหน้า และป้องกันการอุดตันของต่อมไขมัน เพื่อลดการเกิดสิวและบรรเทาอาการ 
  2. รักษาความสะอาดของผิวหนัง เพื่อลดโอกาสอักเสบหรือป้องกันสิ่งสกปรกอุดตันรูขุมขน
  3. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เสริมสร้างสุขภาพที่ดี ดื่มน้ำให้เพียงพอวันละ 6-8 แก้ว พักผ่อนให้ครบ 6-8 ชั่วโมง รวมทั้งทานผักและผลไม้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายขับของเสียและได้รับการฟื้นฟูจากภายใน

FAQ คำถามที่พบบ่อย

Q : สิวฮอร์โมนใช้เวลากี่วันถึงจะหาย?
A : แล้วแต่บุคคล แต่ส่วนมากจะอยู่ที่ 1-2 สัปดาห์ แต่ในบางรายอาจจะนานถึง 4-8 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสุขภาวะและพฤติกรรมที่ต่างกัน

Q : สิวฮอร์โมนหายเองได้ไหม?
A :  จริงๆ แล้วสามารถหายเองได้ เพียงแต่ใช้เวลาค่อนข้างนานและเป็นสิวที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจสร้างความรำคาญ เมื่อมือไปแกะเกาก็จะทำให้เกิดรอยสิวรอยดำรอยแดงภายหลัง ซึ่งต้องรักษาต่อให้หายดี

Q : สิวฮอร์โมน เกิดได้ที่บริเวณใดบ้าง?
A : คาง สันกราม หลัง หน้าอก คอ บริเวณที่มีต่อมไขมันเยอะ

Q : ยาคุมกำเนิด รักษาสิวได้จริงหรือไม่?
A : ยาคุมกำเนิดมี Ethinyl estradiol ซึ่งมีส่วนประกอบของ Oestrogen สามารถลดความมัน หรือ Sebum production ได้ ซึ่งผลของยาก็ขึ้นอยู่กับปริมาณที่รับประทาน แต่ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เฉพาะทาง 

Q : ของหวาน ของมัน ของทอด กระตุ้นให้เกิดสิวฮอร์โมนจริงหรือไม่?
A : สำหรับของหวาน ของมัน ของทอด เป็นอาหารที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดสิวเพราะมีน้ำตาลสูง ซึ่ง Insulin เป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการผลิตไขมันอุดตันส่วนเกินแบบทางอ้อม ขึ้นอยู่ธรรมชาติร่างกายของแต่ละบุคคล

จบปัญหาสิวฮอร์โมน วางใจ The One Clinic

ไม่ว่าจะเป็นสิวฮอร์โมน หรือปัญหาผิวพรรณเรื่องไหน อาทิ สิว รอยสิว ฝ้า กระ ติ่งเนื้อ หรือต่อมไขมันนูน ก็สามารถขอคำปรึกษาและรักษากับคุณหมอหนึ่ง แพทย์เฉพาะทางที่ The One Clinic ได้เลย คุณหมอหนึ่งประเมินเคสเอง หาวิธีการรักษาที่ปลอดภัย เห็นผล และมีคำแนะนำให้อีกด้วย ถ้าใครกำลังมองหาคลินิกรักษาโรคผิวหนังย่านห้วยขวาง  ลองเข้ามาสอบถามข้อมูลและโปรโมชั่นกันก่อนได้เลย เจ้าหน้าที่ของเราพร้อมให้บริการทุกวัน

บทความที่คล้ายกัน

สิวกรอบหน้าเกิดจากอะไร

สิวกรอบหน้า บริเวณกราม ไรผม คันมาก! เกิดจากอะไร? รักษาอย่างไรถึงจะเห็นผล?

สิวกรอบหน้าบริเวณกรามขึ้นไม่หยุด ปล่อยทิ้งไว้นานอาจเกิดร่องรอยสิวหลุมสิวรักษายาก เมื่อรู้วิธีป้องกันและรักษาสามารถหายขาดได้

ต่อมไขมันโตบนหน้า

ต่อมไขมันโตบนหน้า เม็ดแข็งๆ เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรดีนะ?

ต่อมไขมันใต้ผิวหนังมีขนาดใหญ่ขึ้น ตุ่มนูนเล็กๆ ผิวหน้าไม่เรียบเนียน เมื่อรู้สาเหตุและวิธีรักษาที่ถูกต้อง สามารถหายขาดได้

รู้สาเหตุและวิธีรักษาสิวหนอง

จบปัญหา! สิวหนอง รู้สาเหตุและวิธีรักษา หน้าเนียนใส ไม่เกิดซ้ำ!

สิวหนองไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ หาสาเหตุและวิธีรักษาอย่างเร่งด่วน เพื่อหน้าเนียนใส ไม่เกิดซ้ำและไม่ทิ้งร่องรอยสิวหลุมสิวให้กวนใจ