อาการ “ผมร่วงเป็นหย่อม” อันตรายไหม? พร้อมแนะนำวิธีการรักษา

ผมร่วงเป็นหย่อม หรือ Alopecia Areata คือ ภาวะผมร่วงผิดปกติที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายโจมตีเซลล์ที่รากผม ส่งผลให้ผมร่วงมากขึ้นผิดปกติเป็นหย่อมหรือเป็นกระจุก ผมร่วงเป็นหย่อมแม้จะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงแต่ก็มักสร้างความกังวลใจให้ใครหลายๆ คน โดยเฉพาะหากผมเกิดผมร่วงกินเป็นวงกว้างบริเวณหนังศีรษะ ทำให้ความมั่นใจในชีวิตประจำวันลดลง และในบางรายอาจมีขนร่วงตามส่วนอื่นๆ ของร่างกายด้วย 

ซึ่งโรคนี้เกิดขึ้นได้ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ในวันนี้เรามีดูกันว่าจะมีวิธีการรักษาเพื่อหยุดการหลุดร่วงและกระตุ้นให้เส้นผมงอกขึ้นใหม่ได้อย่างไรบ้าง?

สรุป อาการ "ผมร่วงเป็นหย่อม" อันตรายไหม เกิดจากอะไรรักษาอย่างไรให้หายขาด
  • ผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata) เป็นภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโจมตีรากผม ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ มีลักษณะเป็นวงกลม ขนาดของหย่อมผมร่วงจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน อาจพบในส่วนต่าง ๆ ของศีรษะหรือบริเวณอื่น ๆ บนร่างกาย
  • มักพบได้ในทุกช่วงวัย โดยเฉพาะในวัยเด็กและวัยรุ่น สาเหตุยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม, ความเครียด และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
  • วิธีการรักษา ได้แก่ การใช้ยาทา, ยาฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ที่รากผม, การรักษาด้วย PRP (Platelet-Rich Plasma) ซึ่งเป็นการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้นจากเลือดตัวเองเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของผม
  • ในกรณีที่ผมร่วงอย่างรุนแรง อาจพิจารณาวิธีการปลูกผมเพื่อเสริมรากผมที่หายไป

โรคผมร่วงเป็นหย่อม คืออะไร และสาเหตุเกิดจากอะไร?

Alopecia Areata หรือโรคผมร่วงเป็นหย่อม เป็นโรคที่เกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันผิดปกติ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์ของเส้นผมในร่างกาย ส่งผลให้ผมร่วงอย่างรวดเร็วโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน และสามารถลุกลามไปจนผมร่วงหมดศีรษะ (Alopecia Totalis) หรือรุนแรงจนเป็นโรคผมร่วงทั่วร่างกายได้ (Alopecia Universalis) 

โดยจากการศึกษาพบว่า ประมาณ 2% ของประชากรทั้งหมดจะมีปัญหาผมร่วงเป็นหย่อมอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต 

ในบางกรณี เส้นผมอาจกลับมางอกขึ้นเองโดยไม่ต้องรักษา แต่หากมีอาการรุนแรงควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาเพิ่มเติมและหาวิธีดูแลสุขภาพเส้นผมให้ดีขึ้น

สาเหตุของผมร่วงเป็นหย่อมยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่มีความเป็นไปได้ว่าโรคผมร่วงเป็นหย่อมอาจมีสาเหตุจากพันธุกรรม และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ไม่ว่าจะเป็น ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเส้นผม หรือฮอร์โมนเพศขณะตั้งครรภ์หรือวัยหมดประจำเดือน รวมทั้งสภาวะสุขภาพที่ไม่ดี เช่น ความเครียด โรคซึมเศร้า โรคภูมิแพ้ โรคไทรอยด์ การติดเชื้อไวรัสบางชนิด หรือ ความเจ็บป่วยที่รุนแรง

ลักษณะอาการผมร่วงเป็นหย่อม

อาการของผมร่วงเป็นหย่อมจะมีเพียงผมร่วงเท่านั้น ไม่มีอาการคันหรือแสบร้อนในบริเวณที่ผมร่วง และไม่มีแผลหรือผื่นขึ้น แต่ในผู้ป่วยบางราย เล็บมือ เล็บเท้าอาจมีอาการผิดปกติ เช่น สีเล็บแปลกไป หน้าเล็บขรุขระ บางกว่าปกติ

โรคผมร่วงเป็นหย่อมมักมีผลทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายใจหรือเครียด เพราะกระทบต่อความมั่นใจและรูปลักษณ์ภายนอก ดังนั้น การรักษาและดูแลสุขภาพที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการรับมือกับโรคนี้

ผมร่วงเป็นหย่อมเกิดขึ้นกับใครได้บ้าง?

โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย แต่ส่วนใหญ่มักพบในผู้ที่มีอายุระหว่าง 20-40 ปี และพบในเพศหญิงอายุต่ำกว่า 45 ปี มากกว่าเพศชายเล็กน้อย

ภาวะที่พบร่วมกับอาการผมร่วงเป็นหย่อมๆ

แม้ว่าภาวะผมร่วงเป็นหย่อมโดยตัวมันเองจะไม่ได้เป็นอันตรายหรือส่งผลกระทบใด ๆ ต่อสุขภาพแต่ก็ยังพบว่ามีบางภาวะและโรคที่สามารถเกิดขึ้นร่วมกับอาการผมร่วงเป็นหย่อมได้ ดังนี้

ผื่นแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis)

ผู้ที่มีอาการผมร่วงเป็นหย่อมๆ มีความเสี่ยงที่จะเกิดผื่นแพ้ตามผิวหนัง หรือที่เรียกว่า Atopic Dermatitis ร่วมด้วย ซึ่งจะทำให้ผิวบริเวณที่เกิดอาการมีลักษณะแห้งลอก มีผื่นแดง คัน และมักจะเป็นในบริเวณเดียวกับที่มีอาการผมร่วงเป็นหย่อม

โรคด่างขาว (Vitiligo)

โรคด่างขาว หรือ Vitiligo เป็นภาวะทางผิวหนังที่เกิดจากการที่เซลล์ผิวหนังไม่สามารถสร้างเม็ดสีหรือเมลานินได้ ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้น ๆ มีสีขาวอย่างผิดปกติขึ้นมา และอาจจะเป็นในบริเวณเดียวกับที่มีอาการผมร่วงเป็นหย่อม

โรคของต่อมไทรอยด์ (Thyroid disease)

มีการศึกษาพบว่าผู้ที่มีอาการผมร่วงเป็นหย่อมๆ อาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในการเป็นโรคที่เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ เนื่องจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ที่อาจส่งผลต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ ซึ่งโรคที่พบได้บ่อย ได้แก่ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย (Hypothyroidism) หรือต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน (Hyperthyroidism)

โรคของเส้นเลือดและคอลลาเจน (Collagen-vascular disease)

โรคที่เกิดขึ้นกับหลอดเลือดและคอลลาเจน ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลายเซลล์ตัวเอง มีความเชื่อมโยงกับการเกิดอาการผมร่วงเป็นหย่อมได้เช่นกัน เนื่องจากมีการทำลายเซลล์ของรากผมและเส้นผม ตัวอย่างโรคในกลุ่มนี้ เช่น โรคลูปัส (Lupus) เป็นต้น

โรคกังวล (Anxiety)

แม้โดยส่วนใหญ่สาเหตุของอาการผมร่วงเป็นหย่อมๆ ยังไม่ชัดเจน แต่มีบางการศึกษาที่บ่งชี้ว่า ความเครียด ความกังวล และความผิดปกติทางจิตใจบางประเภท อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดอาการผมร่วงเป็นหย่อมขึ้นได้ หากปล่อยให้มีความเครียดและวิตกกังวลเป็นระยะเวลานาน ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเผชิญกับ Alopecia Areata ได้เช่นกัน

ผมร่วงเป็นหย่อมอันตรายไหม? ผมร่วงมากขนาดไหนถึงควรพบแพทย์?

ผมร่วงเป็นหย่อมไม่ใช่โรคที่อันตรายต่อชีวิต แต่มีผลกระทบโดยตรงต่อความมั่นใจในชีวิตประจำวัน และอาจมีผลทางจิตใจค่อนข้างมากโดยเฉพาะในผู้ที่ผมร่วงกินบริเวณกว้างเกือบทั่วศีรษะหรือมีผมร่วงมากกว่า 50% ของจำนวนผมบนศีรษะ ซึ่งในบางกรณี อาการอาจกลับมาดีขึ้นเองได้โดยไม่ต้องรักษา 

นอกจากนี้ อาการผมร่วงเป็นหย่อม อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่างๆ เช่น โรคไทรอยด์ และ โรคภูมิแพ้ตัวเอง เป็นต้น

แล้วผมร่วงมากขนาดไหนล่ะถึงควรพบแพทย์? ในส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคและความรุนแรงของอาการ หากมีอาการผมร่วงเป็นจุดๆ และไม่มีอาการทางผิวหนังอื่นๆ เช่น คัน เป็นแผล และไม่กระทบต่อใช้ชีวิตประจำวัน คุณอาจไม่จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อรับการรักษา

แต่หากมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น คัน เป็นแผลบนหนังศีรษะ หรือผมร่วงมากกว่า 10-20% ของจำนวนผมบนศีรษะ ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาเพิ่มเติม โดยแพทย์จะดำเนินการตรวจสอบหาสาเหตุของโรคเพื่อวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม

ความแตกต่างระหว่าง ผมร่วงเป็นหย่อม และ ผมร่วงเป็นหย่อมจากอาการอื่นๆ เช่น แผลติดเชื้อ หรือ การแพ้สารเคมี

นอกเหนือจากอาการผมร่วงเป็นหย่อมที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติอย่างที่เราได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีอาการผมร่วงเป็นหย่อมจากสาเหตุอื่นๆ ที่ควรระมัดระวัง เช่น การติดเชื้อราบนหนังศีรษะ เชื้อแบคทีเรีย หรือการแพ้สารเคมีในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผม (เช่น ยาย้อมผม ยืดผม และดัดผม) 

โดยให้สังเกตุความแตกต่างจากอาการอื่นๆ ที่มักจะเกิดขึ้นร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น อาการคัน การเกิดแผลบนหนังศีรษะ หรือเส้นผมเปราะบางแตกหักง่าย ซึ่งถ้าหากคุณมีอาการผมร่วงเป็นหย่อมปกติ จะไม่มีอาการผิวหนังเหล่านี้เกิดขึ้น

การวินิจฉัยโรคผมร่วงเป็นหย่อม

การวินิจฉัยโรคผมร่วงเป็นหย่อมมักพิจารณาจากลักษณะของผิวหนังและศีรษะของผู้ป่วย โดยแพทย์จะตรวจสอบลักษณะและขนาดของบริเวณที่ผมร่วง หากเป็นโรคผมร่วงเป็นหย่อมมักจะพบการผมร่วงเป็นจุดๆ เป็นวงกลมหรือมีลักษณะเป็นรูปไข่เล็กๆ โดยที่ลักษณะผิวหนังมักเรียบ และจะไม่มีอาการแดงหรือผื่นคัน

ในบางกรณีที่แพทย์สงสัยว่าอาจมีโรคอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของอาการผมร่วง เช่น โรคไทรอยด์ หรือโรคภูมิแพ้ตัวเอง จะต้องทำการตรวจสอบเพิ่มเติมโดยใช้วิธีการตรวจเชิงพยาธิวิทยา เช่น การตรวจเลือด เป็นต้น

"หมดกังวลเรื่องผมร่วงเป็นหย่อม ให้ The One Clinic ช่วยดูแลเส้นผมของคุณ"

แนวทางการรักษาอาการผมร่วงเป็นหย่อมที่ The one clinic

การรักษาผมร่วงเป็นหย่อม

ที่ The one clinic เรามีการรักษาโรคผมร่วงเป็นหย่อมที่หลากหลาย และอาจมีการใช้แต่ละวิธีในทางเดี่ยวหรือผสมผสานกัน โดยวิธีการรักษาที่เหมาะสมจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงและอาการของโรคในแต่ละบุคคล แนวทางการรักษาหลักๆ มีดังนี้

  1. การฉีดยาที่ได้รับการอนุมัติในการรักษาโรคผมร่วงเป็นหย่อม เช่น การฉีดยา Corticosteroid ลงไปบนจุดที่มีผมร่วง เป็นหย่อมโดยตรง 
โปรแกรมรักษาผมร่วงเป็นหย่อม

2. การทายา Minoxidil 5% ลงบนหนังศีรษะเพื่อกระตุ้นให้ผมงอกใหม่ในช่วงแรกของการรักษาอาการผมร่วงเป็นหย่อม และการทายาประเภท Corticosteroid ลงไปในบริเวณหนังศีรษะที่มีอาการผมร่วงเป็นหย่อมโดยตรง เพื่อลดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่จะเข้าไปทำลายรากผม

3. การใช้เลเซอร์ Low Level Laser Therapy (LLLT) ซึ่งสามารถกระตุ้นให้ผมงอกใหม่ได้ จากสมมุติฐานที่ว่าแสงเลเซอร์สามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างผมใหม่จาก สเต็มเซลล์ บนหนังศีรษะได้ 

4. การให้อาหารเสริม เช่น ซิงค์ (Zinc) หรือไบโอติน (Biotin) อาจมีส่วนช่วยให้ผมงอกเร็วขึ้นได้หลังจากการรักษาอาการผมร่วงเป็นหย่อมในช่วงแรก

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับผมร่วงเป็นหย่อม

ผมร่วงเป็นกระจุกเกิดจากอะไร?

ภาวะผมร่วงเป็นหย่อมเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่โจมตีเซลล์ในรากผมของตัวเอง ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อม ส่วนมากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ ผมร่วงเป็นหย่อมเกิดจากอาจเกี่ยวข้องกับความเครียด ความกังวลหรือความผิดปกติทางฮอร์โมนในร่างกาย

โรคผมร่วงเป็นหย่อมกี่วันถึงจะหาย?

การรักษาโรคผมร่วงเป็นหย่อม นั้นต้องใช้เวลา เนื่องจากรอบการเจริญเติบโตของเส้นผมแต่ละเส้นค่อนข้างนาน Alopecia Areata รักษาด้วยการใช้ยาทา ยาฉีด หรือการรักษาด้วยแสง โดยต้องรักษาอย่างต่อเนื่องหลายเดือนถึงเส้นผมจะกลับมางอกได้ดังเดิม วิธีรักษาผมร่วงเป็นหย่อมที่ได้ผลดีคือ การปรึกษาแพทย์ผิวหนังและรักษาให้ถูกวิธีอย่างสม่ำเสมอ

ผมร่วงเป็นหย่อมสามารถหายเองได้ไหม

โรคผมร่วงเป็นหย่อม จะสามารถหายเองได้ภายใน 3-6 เดือน แต่ถ้ามีแนวโน้มที่รุนแรงขึ้น เช่น ผมร่วงมากกว่า 50% ของเส้นผมบนหนังศีรษะ หรือมีอาการทางผิวหนังอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น คัน เป็นแผล ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว

ต้องรักษานานขนาดไหนหรือกี่ครั้ง

90% ของคนไข้ที่มีอาการผมร่วงเป็นหย่อมจะมีอาการดีขึ้นภายใน 3 เดือนหลังจากการฉีดยาสเตียรอยด์ โดยปกติ เส้นผมจะงอกขึ้นประมาณ 0.5-1 เซนติเมตรต่อเดือน ดังนั้น การรักษาต้องใช้เวลาระยะหนึ่งจึงจะเริ่มเห็นผล

ผมร่วงเป็นหย่อมสามารถรักษาให้หายขาดได้ไหม

อาการผมร่วงเป็นหย่อมสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถเป็นกลับมาได้อีกที่จุดเดิม หรือจุดใหม่

วิตามินและอาหารอะไรบ้างที่ช่วยบำรุงเส้นผมและการงอกขึ้นใหม่

อาหารเสริมต่างๆ เช่น ซิงค์ ไบโอติน มีส่วนช่วยให้เส้นผมงอกเร็วขึ้นได้หลังจากการรักษาในเบื้องต้น รวมถึงปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเชีย น้ำมันคาโนลา วอลนัท ถั่วเหลือง เต้าหู้ และพืชตระกูลกะหล่ำ เช่น บรอกโคลี กะหล่ำดอก กะหล่ำดาว เป็นต้น

สรุป

ผมร่วงเป็นหย่อม อาจเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย ดังนั้น ควรดูแลตนเองให้แข็งแรง และหากมีอาการผมร่วงเป็นหย่อมควรเข้ารับการตรวจกับแพทย์เฉพาะทางเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม หากมีข้อสงสัยใดๆ เพิ่มเติม The One Clinic ห้วยขวาง ยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโรคผมร่วงเป็นหย่อม

บทความที่คล้ายกัน

วิธีแก้ผมร่วง

วิธีแก้ผมร่วง ทางออกสำหรับผู้ที่มีปัญหาผมบางและหัวล้าน

ปัญหาผมร่วง ผมบาง หัวล้าน ส่งผลต่อความมั่นใจ แก้ไขได้ด้วยการดูแลสุขภาพ การบำรุง และวิธีแก้ผมร่วงด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ The One Clinic แนะนำ

สิวที่ปาก

สิวที่ปาก ขึ้นรอบปาก มุมปาก รู้ลึกถึงสาเหตุและวิธีรักษาให้ได้ผล

สิวที่ปากและมุมปากเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ รู้จักวิธีรักษาที่ได้ผลและปลอดภัย พร้อมเคล็ดลับการดูแลผิวให้ห่างไกลจากสิวบริเวณรอบปากไม่ให้เกิดซ้ำ

ผมบาง

ผมบางก็กลับมาหนาได้! รู้สาเหตุ วิธีป้องกันและรักษาให้ตรงจุด บอกลาปัญหาผมขาดร่วง

บอกลาปัญหาผมบาง! เพียงรู้สาเหตุของผมบางและผมร่วง พร้อมวิธีป้องกันและวิธีรักษาอย่างตรงจุด เพื่อฟื้นฟูเส้นผมให้กลับมาหนา แข็งแรง หมดปัญหาผมขาดหลุดร่วง